สารอาหาร แนะนำประเภทของสารอาหาร สิ่งที่ขาดไม่ได้ในร่างกาย

ปิดความเห็น บน สารอาหาร แนะนำประเภทของสารอาหาร สิ่งที่ขาดไม่ได้ในร่างกาย
สารอาหาร

สารอาหาร ทำความรู้จักกับการสารอาหารแต่ละอย่างว่ามีอะไรบ้าง

สารอาหาร หมายถึง สารที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหาร ที่ตัวเราเองนั้นกินเข้าไปในร่างกาย และร่างกายนั้นก็จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อเป็นการดำรงชีวิตในร่างกายของเรา สารอาหารที่เป็น สารอาหารหลัก ที่สามารถจำแนกได้ตามองค์ประกอบทางเคมี และ สารอาหารมีกี่ประเภท ในวันนี้เราจะมาบอกให้รู้กันว่า สารอาหารมีอะไรบ้าง ซึ่งสารอาหารทั้งหมดจะมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ โปรตีน คาร์โบเดรต วิตามิน แร่ธาตุ ลิพิด และน้ำ

โปรตีน (Protein)

โปรตีนนั้นจะเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญของอวัยวะ และเซลล์ในทุกๆ เซลล์ที่จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต และสามารถซ่อมแซมเซลล์ โปรตีนจึงเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโปรตีนนั้นมี เอนไซม์ แอนติบอดี ซึ่งโปรตีนที่สามารถพบได้มากนั้นได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ซึ่งโปรตีนทั้งหมดนี้จะประกอบไปด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน ที่เป็นธาตุหลัก และยังจับกันเป็นกรดอะมิโน ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กมากที่สุดของโปรตีน โดยกรดอะมิโนจะมีหลายโมเลกุล และจะจับกันเป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

คาร์โบไฮเดรตจะเป็นส่วนประกอบหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของเรา ซึ่งส่วนใหญ่นั้นคาร์โบไฮเดรตที่คนเราได้รับมานั้นก็จะอยู่ในอาหารพวก แป้ง น้ำตาล ซึ่งมีมากในพวกธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้ โดยคาร์โบไฮเดรตนั้นจะประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ที่จะจับตัวเป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นโมเลกุลเดี่ยว น้ำตาลโมเลกุลคู่ และคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลกลุ่มใหญ่ ซึ่งการตรวจสอบน้ำของในโมเลกุลเดี่ยวนั้นจะใช้สารละลายเบเนดิกต์ และส่วนการตรวจสอบคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่จำพวกแป้งนั้น จะใช้สารละลายไอโอดีน ทั้งหมดนี้ร่างกายของเราเมื่อกินสารอาหารคาร์โบไฮเดรตเข้าไป โดยคาร์โบไฮเดรตที่เป็นส่วนเกินตามที่ร่างกายต้องการนั้น ก็จะเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน และจะสะสมไว้ในร่างกาย

วิตามิน (Vitamin)

วิตามินนั้นเป็นสารอาหารที่มีสารอินทรีย์ ซึ่งมีวคามสำคัญมากต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยร่างกายของเรานั้นต้องการวิตามินในปริมาณที่มามากเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเกิดว่าร่างกายของเราขาดวิตามิน ก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติ เนื่องจากความบกพร่องของกระบวนการเคมีในร่างกายของเราเอง วิตามินสามารถแบ่งเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่สามารถละลายในไขมัน ได้แก่ วินตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่สามารถละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน ซี และวิตามิน บีรวม

แร่ธาตุ (Mineral)

แร่ธาตุนั้นเป็นสารอนินทรีย์ที่ร่างกายจำเป็นจะต้องมีอยู่ในระดับหนึ่ง ที่มีความเหมาะสมของแร่ธาตุจึงจะสามารถทำงานกับระบบของร่างกายได้ดี โดยแร่ธาตุยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารอาหารหลายชนิด ซึ่งมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ และอวัยวะ โดยแร่ธาตุแต่ละชนิดจะมีความจำเป็นต่อการทำงานในระบบร่างกายของเรา โดยจะแตกต่างกัน และแร่ธาตุนั้นยังมีอยู่ในแหล่งอาหารต่างชนิดกันเช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง แครอท คะน้า แตงกวา ฟัก ผักกาดขาว โดยแร่ธาตุต่างๆ จากพืช และผักเหล้านี้ จะเป็นสารอาหารที่ร่างกายของเรานั้นขาดไปไม่ได้ โดยแร่ธาตุต่างๆ นั้นจะมีความเหมาะสมต่อร่างกายคนเราจะอยุ่ในปริมาณที่ 920 – 2,300 มิลลิกรัม ต่อ 1 วัน

ลิพิด (Lipid)

ลิพิดนั้นเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติที่ไม่รวมตัวกับน้ำ ให้พลังงานที่สูง และยังช่วยในการดูดซึมวิตามินในบางชนิดในร่างกายของเราที่สามารถพบได้ตามใต้ผิวหนัง และรอบๆ อวัยวะภายในต่างๆ โดยลิพิดนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท อาทิเช่น ไขมัน น้ำมัน คอเลสเทอรอล เป็นต้น โดยลิพิดในอาหารนั้นมักจะเป็นสารประเภทเอสเอตร์ อาทิเช่น ไตรกลีเซอร์ไรด์ จะประกอบไปด้วยกลีเซอรอล และกรดไขมัน ซึ่งกรดไขมันนั้นจะประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน

น้ำ (Water)

น้ำที่เราใช้ดื่มเข้าร่างกายเป็นประจำนั้นเป็นสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของทุกๆ เซลล์ในร่างกายของคนเรา ช่วยในเรื่องของการนำของเสียออกจากร่างกาย และช่วยในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ เมื่อร่างกายของเรานั้นได้รับน้ำเข้าไป

สรุป

สารอาหารหมายถึงการที่คนเรานั้นรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้มีความพอดี ไม่กินสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งอย่างเดียวมากเกินไป จำเป็นต้องกินให้อยู่ปริมาณที่ร่างกายของตัวเองนั้นสามารถรับได้ จะทำให้ สารอาหารที่ให้พลังงาน และตัวอื่นๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างดีที่สุด โดย ประโยชน์ของสารอาหาร นั้นมีมากมายหากทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น ก็จะทำให้ตัวคุณเองมี สุขภาพ ที่แข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ปวด และทำให้ไม่เป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายๆ อีกด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติม : วิตามิน , โปรตีน

Credit : https://healthyandexercise.com/